12 สิ่งที่ผมเริ่มทำ เมื่อติดตั้ง Linux (Mint 12)
posted on 28 Jan 2012 18:06 by linuxdiary directory Tech
ถึงแม้ Linux จะมีโปรแกรมต่างๆ
นานามาให้เสร็จสรรพ หรือถูกตั้งค่าต่างๆ ให้ใช้งานได้ง่ายๆ มาแล้ว
แต่ก็คงจะยังไม่เพียงพอสำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ แน่นอน
มันเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้พัฒนาไม่อาจทำให้ Linux ถูกใจใครทั้งหมดได้ 100%
เท่าที่ทำได้ก็คือพยายามทำให้ผู้ใช้สะดวกที่สุดโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งมากนัก
ใน Entry นี้ จึงขอหยิบยกจากประสบการณ์ของผม ตั้งแต่ตอนที่เริ่มใช้งาน
มาแนะนำให้เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่อยากจะใช้งาน Linux
ว่าควรจะปรับแต่งอย่างไร ในที่นี้ผมใช้ Linux Mint 12 ประกอบการอธิบาย
สำหรับคนที่ใช้ Linux อื่นๆ เช่น Ubuntu
ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เหมือนกันครับ
*หมายเหตุ : ภาพประกอบที่เห็นใน Entry
นี้ถ่ายมาตอนหลังจากปรับแต่งแล้ว
จึงอาจเห็นบางอย่างที่ไม่เหมือนกับในหน้าจอของคุณผู้อ่านก็เป็นได้
แต่โดยรวมแล้วก็ยังใช้อธิบายได้ดีอยู่
~ ~ ~ ~ ~
1. เพิ่ม Repository ใน Software Source
Repository หรือเรียกย่อๆ ว่า Repo แปลตามตัวก็คือ "กรุ" ครับ
ในที่นี้ก็หมายถึงแหล่งรวมฐานข้อมูลของตัวโปรแกรม รวมไปถึงไฟล์ระบบต่างๆ
ที่เอามาลงใน Linux ได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
เหตุที่ต้องเพิ่ม Repo ให้ เพราะตัว Repo ดั้งเดิมของ Linux Mint
ใช้เซิฟเวอร์เป็นของตนเองในการอัพเดทสิ่งต่างๆ (ในขณะที่ Linux ตัวอื่นๆ
ที่พัฒนามาจาก Ubuntu จะยังใช้เซิฟเวอร์ของ Ubuntu อยู่)
ซึ่งในไทยนั้นยังไม่มีเซิฟเวอร์ของ Linux Mint จึงทำให้เวลาจะลบ เพิ่ม
หรืออัพเดทโปรแกรมแต่ละที จะมีปัญหาการขาดการเชื่อมต่ออยู่บ่อยๆ
ทำให้เกิดความลำบากต่อการปรับแต่งของเราอย่างมาก
วิธีเพิ่มก็คือ ให้เข้าไปยังโปรแกรม Software Manager แล้วคลิกที่เมนู
Edit > Software Source จะมีช่องใส่รหัสผ่านของเราขึ้นมา
กรอกเสร็จก็จะขึ้นมาแบบนี้..
คลิกที่หน้า Other Sofwate แล้วคลิกที่ Add... ก็จะขึ้นช่องมาให้กรอก ให้ใส่ตามข้างล่างนี้แล้วกด Add source ทำทีละบรรทัดนะครับ
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-backports main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-proposed main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-security main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-updates main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-backports main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-proposed main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-security main multiverse restricted universe
deb ftp://ftp.psu.ac.th/pub/ubuntu/ oneiric-updates main multiverse restricted universe
พอใส่หมดแล้วก็ปิด Software Source ได้ แล้วรอ Software Manager โหลดตัวเองใหม่สักพัก จึงค่อยกดปิดไป
2. ติดตั้ง Codec ของเพลง, วิดีโอ
2. ติดตั้ง Codec ของเพลง, วิดีโอ
ข้อนี้ไว้สำหรับผู้ที่ติดตั้งแบบ CD นะครับ ใครที่ใช้แบบ DVD ให้ข้ามไปข้อ 4 ได้เลย
ที่ต้องทำเพราะว่าตัว Codec ไม่ได้แถมมาด้วยในตอนที่กำลังติดตั้ง
Linux เมื่อไม่มี Codec ก็จะทำให้เราเปิดเพลงหรือวิดีโอได้แค่ไม่กี่ชนิด
ไม่ครบทุกตัว วิธีติดตั้งก็คือให้เลือก Add Multimedia Codecs ในหน้าจอ
Welcome to Linux Mint (ใครปิดไปแล้วก็ให้เปิดขึ้นมาใหม่ ที่ชื่อโปรแกรม
Welcome Screen)
ให้ดำเนินการตามที่ระบบบอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเสร็จ
3. อัพเกรดเป็น DVD Edition
ต่อจากข้อที่แล้ว พอติดตั้ง Codec เสร็จก็มาติดตั้งต่อเลยในส่วนของโปรแกรมเสริม
ในตัวติดตั้งแบบ CD โปรแกรมจะถูกเอาออกไปบางส่วน
เพื่อให้มีเนื่อที่พอสำหรับทำตัวติดตั้งได้
จึงทำให้มันไม่ครบเครื่องเท่าแบบ DVD
เราสามารถติดตั้งเพิ่มได้โดยทำแบบเดียวกันกับข้อที่แล้ว แต่ให้เลือกที่
Upgrade to the DVD Edition แทน
4. ลบ/เพิ่มโปรแกรม ด้วย Software Manager หรือ Synaptic Package Manager
สองตัวนี้มีหน้าที่เหมือนๆ กัน จะต่างก็แค่วิธีใช้งานเท่านั้นเองครับ
โดยที่ "Software Manager" จะเหมาะกับมือใหม่มากกว่า
เพราะสามารถค้นหาจากในรายการได้เลย มีแบ่งหมวดหมู่ไว้เรียบร้อย
แถมยังมีรายละเอียดให้อ่านด้วย
ข้อเสียก็มีอยู่บ้าง
ตรงที่ต้องมาใส่รหัสทุกครั้งที่เราลงหรือลบโปรแกรม อาจทำให้รู้สึกรำคาญได้
แต่ก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร คงหยวนๆ กันได้
ส่วนตัวนี้ "Synaptic Package Manager" จะเหมาะสำหรับคนที่ใช้ Linux
เป็นแล้วในระดับหนึ่ง ตัวนี้จะไม่เหมือนตัวแรกก็ตรงที่มีแต่รายชื่อโปรแกรม
กับคำอธิบายเฉยๆ เป็นตัวหนังสือล้วนๆ ไม่มีภาพให้เห็น
หน้าตาโปรแกรมก็ดูไม่ค่อยเป็นมิตรสำหรับมือใหม่ แต่ก็มีดีตรงที่ทำอะไรๆ ได้
หลายอย่างกว่า โดยที่เด็ดสุดก็คือ การบันทึกรายการที่เราติ้กไว้
จะติ้กเพื่อลง เพื่อลบ หรือเพื่ออัพเกรด
จะถูกเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาเปิดภายหลังได้อีก
ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาติ้กรายการเองทีละช่องๆ เรื่องรายละเอียดของ Synaptic
Package Manager นี้ไว้มีโอกาสแล้วผมจะมาลงลึกอีกทีครับ
5. ติดตั้ง Font และปรับขนาดตัวอักษรของหน้าจอ
5. ติดตั้ง Font และปรับขนาดตัวอักษรของหน้าจอ
ถ้าคุณใช้จอเล็กหรือใช้โน้ตบุค, เน็ตบุค ปัญหานี้คงไม่ใช่น้อยๆ
เลยใช่มั้ยครับ ตัวอักษรใหญ่เกินจนดูเทอะทะ ไม่สบายตา ผมมีวิธีแก้
รวมไปถึงปัญหา Font น้อยเกินแล้วไปกระทบกับงานเอกสาร แสดงผลเพี้ยนๆ
ก็มีวิธีแก้เหมือนกันโดยการเพิ่ม Font
ให้ติดตั้งโปรแกรม Font Manager ก่อน เปิดขึ้นมาแล้วจะได้ตามรูปนี้
คลิกที่ปุ่ม Manage Fonts เลือก Install Fonts จากนั้นก็เลือกที่ๆ
เราเก็บ Font ที่จะติดตั้งไว้ (เอามาจากของ Windows ก็ได้) เลือก Font
ที่ต้องการให้ครบแล้วคลิก OK จากนั้นก็ให้รอมันโหลดตัวเองใหม่สักพัก Font
ที่เราติดตั้งไปก็จะมีขึ้นมาในรายชื่อแล้ว
สำหรับการปรับขนาดตัวอักษรของหน้าจอ ให้เปิดตัว Advanced Settings
ขึ้นมา ในหมวด Fonts จะมีให้ปรับอยู่หลายจุด ก็ปรับตามที่ต้องการเลยครับ
6. ติดตั้งโปรแกรมที่เป็นไฟล์แพคเกจ .deb
6. ติดตั้งโปรแกรมที่เป็นไฟล์แพคเกจ .deb
deb (ย่อมาจาก Debian Package) ถ้าเทียบกับ Windows
แล้วก็คงคล้ายกับไฟล์ติดตั้งแบบ .exe เป็นระบบแพคเกจที่พัฒนาโดยทีม Debian
(ซื่งมี Linux ในชื่อเดียวกันนี้เป็นของตนเอง) ข้อดีของไฟล์แบบ .deb
นี่คือติดตั้งง่ายมากๆ แค่ไม่กี่คลิกพร้อมกับการกรอกรหัสของเราหน่อยเดียว
มันก็จะจัดการลงให้เราเองเลย ไม่ต้องมานั่ง compile
โปรแกรมเองให้ปวดหัวแบบที่ชาว Linux สมัยแรกๆ เค้าทำกัน
ใน Linux Mint จะใช้โปรแกรม Gdebi เป็นตัวคอยจัดการไฟล์ .deb ส่วน Ubuntu จะใช้ Ubuntu Software Center จัดการไฟล์ให้
7. ติดตั้งโปรแกรมผ่าน PPA โดยใช้ Terminal
อีก วิธีหนึ่งในการติดตั้งที่ฝรั่งเค้านิยมทำกันนั่นคือ ติดตั้งผ่าน PPA (Personal Package Archives) เป็นแหล่ง Software จากผู้พัฒนาภายนอก ที่ไม่ใช่กลุ่มนักพัฒนาของ Ubuntu หรือ Linux Mint โดยตรง
7. ติดตั้งโปรแกรมผ่าน PPA โดยใช้ Terminal
อีก วิธีหนึ่งในการติดตั้งที่ฝรั่งเค้านิยมทำกันนั่นคือ ติดตั้งผ่าน PPA (Personal Package Archives) เป็นแหล่ง Software จากผู้พัฒนาภายนอก ที่ไม่ใช่กลุ่มนักพัฒนาของ Ubuntu หรือ Linux Mint โดยตรง
เมื่อเราเพิ่ม PPA ลงไปแล้ว
จะสามารถติดตั้งโปรแกรมที่ปกแล้วไม่ได้มีอยู่ในรายการ
หรือมีอยู่แล้วแต่เป็นคนละรุ่นกัน ในตัวอย่างนี้เป็นการลงโปรแกรม MyPaint
โดยผ่าน PPA ซึ่งเป็นตัวที่ใหม่กว่าในรายการเดิมที่มีอยู่แล้ว
เปิด Terminal แล้วใส่คำสั่งลงไปตามนี้ ทีละบรรทัด
sudo add-apt-repository ppa:achadwick/mypaint-testing
sudo apt-get update
sudo apt-get install mypaint
sudo apt-get update
sudo apt-get install mypaint
* ตอนที่มันขึ้นว่าให้ใส่รหัส
แล้วเราใส่ลงไปแต่ไม่ขึ้นตัวอะไรให้เห็น
ไม่ต้องตกใจไปครับมันเป็นเรื่องปกติสำหรับ Terminal
เค้าตั้งใจทำให้เป็นแบบนี้อยู่แล้วเพื่อความปลอดภัย เราก็ค่อยๆ
ใส่ลงไปอย่าให้ผิด ถ้าผิดแล้วจะกดแก้ไม่ได้ ต้องใส่ใหม่ในครั้งต่อไป
อธิบาย ให้เข้าใจนิดนึงในแต่ละบรรทัด บรรทัดแรกจะเป็นการสั่งให้เพิ่ม PPA ของโปรแกรมที่เราอยากติดตั้งลงไป บรรทัดที่สองสั่งให้ระบบอัพเดทรายการให้ใหม่ แล้วบรรทัดที่สามก็คือติดตั้งโปรแกรมตามชื่อนั้นๆ
พอใส่ครบทั้ง 3 บรรทัด รอจนเสร็จหมด ก็ปิด Terminal แล้วลองเปิดโปรแกรมที่เพิ่งติดตั้งดูได้
อธิบาย ให้เข้าใจนิดนึงในแต่ละบรรทัด บรรทัดแรกจะเป็นการสั่งให้เพิ่ม PPA ของโปรแกรมที่เราอยากติดตั้งลงไป บรรทัดที่สองสั่งให้ระบบอัพเดทรายการให้ใหม่ แล้วบรรทัดที่สามก็คือติดตั้งโปรแกรมตามชื่อนั้นๆ
พอใส่ครบทั้ง 3 บรรทัด รอจนเสร็จหมด ก็ปิด Terminal แล้วลองเปิดโปรแกรมที่เพิ่งติดตั้งดูได้
Mypaint โปรแกรมวาดรูปที่ดูแล้วคล้าย SAI มากๆ
มีจุดเด่นที่ไม่จำกัดขนาดของพื้นที่วาด
จะวาดให้ใหญ่เท่าไหร่ก็ได้เท่าที่เครื่องรับไหว
พร้อมทั้งหัวแปรงที่มีให้เลือกหลายแบบมาก ให้เราได้เลือกใช้กัน
8. ทำ Partition ให้ Automount ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
โดย ปกติแล้ว Linux จะเปิดใช้งาน Partition แค่ 2 ส่วนเท่านั้น คือส่วนที่ติดตั้ง Linux ลงไป กับส่วนที่เป็น Swap (Partition ที่ไว้ใช้เป็นหน่วยความจำเสมือน) ส่วนอื่นๆ จะยังไม่ถูกใช้งานจนกว่าเราจะไปทำการ Mount ก่อนถึงจะได้ใช้ แล้วการ Mount ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร แค่เลือกเปิด Partition ที่เราต้องการตามรูปนี้ มันก็จะ Mount ให้เลย
โดย ปกติแล้ว Linux จะเปิดใช้งาน Partition แค่ 2 ส่วนเท่านั้น คือส่วนที่ติดตั้ง Linux ลงไป กับส่วนที่เป็น Swap (Partition ที่ไว้ใช้เป็นหน่วยความจำเสมือน) ส่วนอื่นๆ จะยังไม่ถูกใช้งานจนกว่าเราจะไปทำการ Mount ก่อนถึงจะได้ใช้ แล้วการ Mount ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร แค่เลือกเปิด Partition ที่เราต้องการตามรูปนี้ มันก็จะ Mount ให้เลย
แต่ที่เป็นปัญหาจริงๆ ก็คือ... อย่างเช่นเวลาเราเปิดเครื่องใหม่ๆ นี่
แล้วก่อนหน้านี้เราโหลดบิทค้างไว้
พอเปิดขึ้นมาครั้งนี้ตัวโหลดบิทมันหาไฟล์ไม่เจอ เพราะยังไม่ได้ Mount ที่
Partition นั้นเลย ทีนี้ก็โหลดต่อให้ไม่ได้ ดังนั้นการทำให้ Automount ก็จะช่วยแก้ปัญหาในทำนองนี้ได้ ก่อนอื่นเราต้องรู้ลำดับ Partition นั้นๆ เสียก่อน
เปิดโปรแกรม GParted ขึ้นมา แล้วให้สังเกตตามในรูปนี้
เปิดโปรแกรม GParted ขึ้นมา แล้วให้สังเกตตามในรูปนี้
ให้ดูว่า Partition ที่เราต้องการ อยู่ลำดับที่เท่าไหร่ จากตัวอย่างนี้ ชื่อ Storage อยู่ลำดับที่ sda5 ก็ให้จำไว้ก่อน จากนั้นกด Alt+F2 แล้วใส่คำสั่งลงไปดังนี้
gksu gedit /etc/fstab
กด Enter แล้วกรอกรหัสผ่านลงไป จะมีไฟล์ข้อความถูกเปิดขึ้นมา ดังรูป
gksu gedit /etc/fstab
กด Enter แล้วกรอกรหัสผ่านลงไป จะมีไฟล์ข้อความถูกเปิดขึ้นมา ดังรูป
เอาบรรทัดนี้ใส่ต่อท้ายเพิ่มลงไปข้างล่าง
/dev/sdaX /media/name ntfs-3g defaults,locale=en_US.UTF-8 0 0
โดยแทนที่ sdaX เดิม ให้เป็นตัวที่คุณจำมาเมื่อครู่นี้ จากตัวอย่างคือ sda5 แต่ถ้า Partition นั้นเป็นระบบ fat32 ก็เปลี่ยนในบรรทัดจาก ntfs-3g เป็น vfat แทนนะครับ พอเพิ่มเสร็จแล้วก็เซฟไว้ ทีนี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทดสอบได้โดยการ Restart เครื่อง จะเห็นได้ว่าถูก Mount ไปแล้วจริงๆ
ทั้งนี้ เมื่อทำ Automount ไปแล้ว จะมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นมานั่นคือ จะลบไฟล์ใน Partition นั้นโดยโยนไปที่ Trash ไม่ได้ ลบถาวรได้อย่างเดียว อีกข้อคือเราจะ Unmount มันไม่ได้ด้วย จนกว่าเราจะไปแก้ไขในไฟล์ fstab นั้นให้กลับมาเหมือนเดิมอีก
9. ตั้งค่าการสลับภาษาให้ใช้ปุ่ม Grave (~) ได้
หลาย คนที่เคยใช้ Windows มาก่อน อาจชินกับปุ่ม Grave Accent (~) หรือที่เรียกว่าตัวหนอน ใช้สลับภาษาได้คล่องนัก พอเปลี่ยนมาใช้ Linux แล้ว ครั้นจะต้องมาสลับด้วยปุ่ม Alt+Shift มันก็ไม่คล่องมือซะเลย อยากจะเปลี่ยนมาใช้ตัวหนอนก็ไม่มีให้เปลี่ยนอีก ไม่รู้จะทำตรงไหนยังไงดี
โชคดีที่มีคนเห็นความสำคัญตรงนี้ เค้าก็เลยคิดโปรแกรมตัวนึงขึ้นมา ไว้ให้เราๆ ใช้ตัวหนอนสลับภาษาได้ มันมีชื่อว่า "Grave Key" ครับ
โหลดได้จากที่นี่เลย >> http://www.playoss.com:81/downloads/pe/others/gravekey/
/dev/sdaX /media/name ntfs-3g defaults,locale=en_US.UTF-8 0 0
โดยแทนที่ sdaX เดิม ให้เป็นตัวที่คุณจำมาเมื่อครู่นี้ จากตัวอย่างคือ sda5 แต่ถ้า Partition นั้นเป็นระบบ fat32 ก็เปลี่ยนในบรรทัดจาก ntfs-3g เป็น vfat แทนนะครับ พอเพิ่มเสร็จแล้วก็เซฟไว้ ทีนี้ก็เรียบร้อยแล้ว ทดสอบได้โดยการ Restart เครื่อง จะเห็นได้ว่าถูก Mount ไปแล้วจริงๆ
ทั้งนี้ เมื่อทำ Automount ไปแล้ว จะมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นมานั่นคือ จะลบไฟล์ใน Partition นั้นโดยโยนไปที่ Trash ไม่ได้ ลบถาวรได้อย่างเดียว อีกข้อคือเราจะ Unmount มันไม่ได้ด้วย จนกว่าเราจะไปแก้ไขในไฟล์ fstab นั้นให้กลับมาเหมือนเดิมอีก
9. ตั้งค่าการสลับภาษาให้ใช้ปุ่ม Grave (~) ได้
หลาย คนที่เคยใช้ Windows มาก่อน อาจชินกับปุ่ม Grave Accent (~) หรือที่เรียกว่าตัวหนอน ใช้สลับภาษาได้คล่องนัก พอเปลี่ยนมาใช้ Linux แล้ว ครั้นจะต้องมาสลับด้วยปุ่ม Alt+Shift มันก็ไม่คล่องมือซะเลย อยากจะเปลี่ยนมาใช้ตัวหนอนก็ไม่มีให้เปลี่ยนอีก ไม่รู้จะทำตรงไหนยังไงดี
โชคดีที่มีคนเห็นความสำคัญตรงนี้ เค้าก็เลยคิดโปรแกรมตัวนึงขึ้นมา ไว้ให้เราๆ ใช้ตัวหนอนสลับภาษาได้ มันมีชื่อว่า "Grave Key" ครับ
โหลดได้จากที่นี่เลย >> http://www.playoss.com:81/downloads/pe/others/gravekey/
โหลดมาแล้วจะเป็นไฟล์ .deb ก็จัดการลง
ลงเสร็จก็มาตั้งค่าให้คีย์บอร์ด โดยเปิดตัว System Settings ขึ้นมา
แล้วเลือก Keyboard Layout เลือกที่หมวด Layouts คลิกที่ Options...
คลิกหัวข้อ Layout Switching จะมีช่องกาให้เลือกมากมาย ให้ติ้กออกที่
Alt+Shift change layout แล้วเลือกติ๊กที่ Grave switches layout แทน
เท่านี้ก็ใช้ตัวหนอนสลับภาษาได้แล้วครับ
10. เพิ่ม "Cinnamon" เพื่อใช้แทน GNOME Shell
สำหรับ ใครที่ไม่ชอบ Desktop Environment (GUI ของ Linux) ในแบบ GNOME Shell เนื่องด้วยเหตุผลใดๆ ก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะดูเข้าใจยาก ใช้ยาก ไม่สวย ลูกเล่นเกินไป หรืออะไรก็แล้วแต่ ขอแนะนำ DE ตัวนี้เลยครับ...
10. เพิ่ม "Cinnamon" เพื่อใช้แทน GNOME Shell
สำหรับ ใครที่ไม่ชอบ Desktop Environment (GUI ของ Linux) ในแบบ GNOME Shell เนื่องด้วยเหตุผลใดๆ ก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะดูเข้าใจยาก ใช้ยาก ไม่สวย ลูกเล่นเกินไป หรืออะไรก็แล้วแต่ ขอแนะนำ DE ตัวนี้เลยครับ...
"Cinnamon" เป็น DE ที่พัฒนาแตกหน่อมาจาก GNOME Shell
โดยที่พยายามทำให้การจัดวางและหน้าตาดูคล้าย Windows
ผู้ใช้จะได้ใช้งานได้ง่ายๆ ไม่ต้องทำความเข้าใจอะไรมากนัก
วิธีเพิ่ม ให้ทำผ่าน PPA ตามนี้ครับ เปิด Terminal แล้วทำเหมือนกับหัวข้อที่ 7 ที่เคยทำมา แต่ให้ใส่ตามนี้แทน
วิธีเพิ่ม ให้ทำผ่าน PPA ตามนี้ครับ เปิด Terminal แล้วทำเหมือนกับหัวข้อที่ 7 ที่เคยทำมา แต่ให้ใส่ตามนี้แทน
sudo add-apt-repository ppa:merlwiz79/cinnamon-ppa
sudo apt-get update
sudo apt-get install cinnamon
เสร็จ แล้วก็ Log Out ออก ก่อนจะเข้าใหม่ให้คลิกที่รูปฟันเฟือง แล้วเลือก Cinnamon เราก็จะเห็นได้ว่าตอนนี้หน้าจอดูคล้าย Windows แล้ว
11. ตกแต่งภาพหน้าจอ, ธีม, ไอคอน
การเปลี่ยนภาพหน้าจอ ทำได้ง่ายๆ โดยคลิกขวาบนที่ว่าง เลือก "Change
Desktop Background" จะมีภาพอื่นให้เลือกหน่อยนึง
ถ้าอยากเพิ่มของตนเองเข้าไปก็คลิกปุ่มบวก แล้วเลือกภาพที่ต้องการ
หน้าจอก็จะเปลี่ยนเป็นรูปของเราทันที
ส่วนการแต่งธีมกับไอคอน ให้ไปแต่งใน Advanced Setting ในส่วนของ Theme
*หมายเหตุ : ในนี้จะมีอยู่สองตัวที่เปลี่ยนไม่ได้เมื่อมาใช้ Cinnamon นั่นก็คือ Window theme (กรอบชื่อด้านบนของหน้าต่าง) กับ Shell theme (หน้าตาของ GNOME Shell ซึ่ง Cinnamon ไม่ได้ใช้)
*หมายเหตุ : ในนี้จะมีอยู่สองตัวที่เปลี่ยนไม่ได้เมื่อมาใช้ Cinnamon นั่นก็คือ Window theme (กรอบชื่อด้านบนของหน้าต่าง) กับ Shell theme (หน้าตาของ GNOME Shell ซึ่ง Cinnamon ไม่ได้ใช้)
12. ปิดตัวเลือกการล็อคหน้าจออัตโนมัติ
คุณอาจจะ รู้สึกรำคาญ เมื่อคุณออกไปทำธุระข้างนอกพอกลับมาก็เห็นว่าหน้าจอถูกล็อก ต้องกรอกรหัสผ่านเพื่อปลดล็อกอยู่ทุกครั้ง หรือบางทีเราก็ต้องใช้เครื่องร่วมกับคนอื่น พอเค้าเห็นว่าหน้าจอเราล็อกไว้ก็ไม่รู้จะปลดยังไง ปัญหาอื่นๆ อาจจะตามมาหลังจากนั้นก็เป็นได้
คุณอาจจะ รู้สึกรำคาญ เมื่อคุณออกไปทำธุระข้างนอกพอกลับมาก็เห็นว่าหน้าจอถูกล็อก ต้องกรอกรหัสผ่านเพื่อปลดล็อกอยู่ทุกครั้ง หรือบางทีเราก็ต้องใช้เครื่องร่วมกับคนอื่น พอเค้าเห็นว่าหน้าจอเราล็อกไว้ก็ไม่รู้จะปลดยังไง ปัญหาอื่นๆ อาจจะตามมาหลังจากนั้นก็เป็นได้
วิธีทำให้หน้าจอไม่ล็อก ให้เปิด System Settings แล้วเข้าไปที่ Screen
จะเห็นตัวเลือก Lock เป็น ON อยู่ก็ให้สับไปเป็น OFF เสีย
หน้าจอของเราต่อจากนี้ไปก็จะไม่ถูกล็อกอีก
~ ~ ~ ~ ~
หวังว่าการปรับแต่งต่างๆ ที่เสนอมานี้ จะช่วยให้คุณใช้ Linux
ได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นนะครับ จริงๆ
แล้วไม่จำเป็นว่าจะต้องทำหมดทุกข้อก็ได้ เลือกทำเฉพาะข้อที่จำเป็นก็พอ
(แต่สำหรับ จขบ. มันจำเป็นหมดทั้ง 12 เลย
บางทีอาจต้องทำมากกว่านั้นด้วยซ้ำ...)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น